Thai | English
25 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             
  ข่าวกิจกรรม
สัมผัสประสบการณ์ผ่านป่าอนุรักษ์ “ซ็องโรคกะเวือน”
27-30 มีนาคม 2558 มูลนิธิพัฒนาอีสานมีโอกาสต้อนรับคณะนักศึกษาจากสำนักบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้และศึกษาดูงานชนบทไทยและชนบทอาเซียน ในจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา  โดยจุดแรกที่ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ ป่าอนุรักษ์ซ็องโรคกะเวือน จ.อุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา

ป่าอนุรักษ์ “ซ็องโรคกะเวือน”  เป็นป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา มีเนื้อที่จำนวน 18,261 เฮกต้า หรือ 113,218.2 ไร่ ภายใต้การดำเนินงานของสหคมซ็องโรคกะเวือน  โดยพระครูบุญสาลวด เจ้าคณะจังหวัดอุดรมีชัยเป็นประธาน  

 “ป่ามีแต่จะลดลง  ในขณะที่คนมีแต่จะเพิ่มขึ้น” กอร์ปกับปัญหาการรุกที่ดินทำกิน  ลักลอบตัดไม้  เผาป่า และล่าสัตว์  จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานอนุรักษ์ป่าที่สำคัญของพระครูบุญสาลวดในปี 2544  ซึ่งการทำงานแรกๆจะมีเพียงพระครูและพระสงฆ์เป็นแกนนำสำคัญเท่านั้น และกระบวนการทำงานส่วนใหญ่จะใช้วิธีการจับปราบ ลาดตระเวน  ตักเตือน  จับส่งตำรวจเข้าคุกดำเนินคดี วิธีการแบบนี้ได้ทำอย่างเข้มข้นในช่วงแรกจนมีคำกล่าวขานของชาวบ้านว่า “ตำรวจจับได้ไม่เป็นไร แต่อย่าให้พระจับได้” เนื่องจากพระครูมีการติดตามการดำเนินคดีของผู้กระทำผิด  หากไม่ดำเนินคดีเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องรับผิดชอบในความผิดนั้น

ปัจจุบันพระครูบุญสาลวดได้ปรับแนวทางการทำงาน จากการจับปราบและส่งเข้าคุกอย่างเดียว มาใช้วิธีการทำงานกับคนที่อยู่รอบป่าด้วย “ทำอย่างไรให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้”  จึงได้ตั้งคณะกรรมการป่าแต่ละหมู่บ้านที่อยู่รอบป่าทั้ง 15 หมู่บ้านๆละ 5-7 คน เพื่อดูแลรักษา ลาดตระเวน เก็บข้อมูลพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตในป่า และทำแผนที่ระบบ GPS โดยการสนับสนุนขององค์กรต่างประเทศ

14 ปี กับการทำงานอย่างเข้มข้น จริงจัง เด็ดขาด ส่งผลให้สหคมแห่งนี้ได้รับรางวัลมากมาย เช่น รางวัล “แห่งความสำเร็จที่โดดเด่นของการลดความยากจนผ่านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของความหลากหลายทางชีวภาพ” จาก UNDP เมื่อปี 2010 ที่รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา 

ส่วนปัญหาอุปสรรคในการทำงานในปัจจุบัน มีอยู่หลายประการ เช่น การลักลอบตัดไม้  เผาป่า ล่าสัตว์ จาก 2 ชุมชน และไม่มีอุปกรณ์ดับไฟป่า รวมทั้งภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับกรณีไฟไหม้ป่าเท่าที่ควร

การดำเนินงานในอนาคตข้างหน้า จะทำการขุดคลองเป็นแนวรั้วรอบป่าที่ยังเหลืออีกประมาณ 14 กิโลเมตร  การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่รอบป่าโดยการถามความต้องการว่าสนใจพัฒนาตนเองด้านใดแล้วส่งเสริมสนับสนุน  รวมทั้งจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์จากป่าของชุมชนในแต่ละฤดูกาลอีกด้วย เป็นต้น 

โดย  ณัฐกานต์  สิทธิสังข์
ภาพ  มิ้วกี้

[ +zoom ]
พระครูบุญสาลวด เจ้าคณะจังหวัดอุดรมีชัย

[ +zoom ]

[ +zoom ]
เดินป่า กินข้าวป่า

[ +zoom ]
ข่าวกิจกรรม
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน จัดงานเทศกาลถนนสายวัฒนธรรมผ้าไหมอาเซียน : ASEAN SILK FESTIVAL 2019 ครั้งที่1
- งานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน ร่วมประชุมรับฟังแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในปี 2562 จ.บึงกาฬ
- ทำเกษตรแล้วปรับตัวอย่างไร ในยุค THAILAND 4.0
- รับคณะศึกษาดูงานประเทศกัมพูชา
- สุภาพ เกื้อทาน ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง ต.ตะเคียน
- รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
- เสริมพลัง สร้างทักษะชีวิต
- ลดต้นทุนด้วยการทำนาหยอด
- โช โอกะ ผู้ประกอบการหัวใจสีเขียว
ดูทั้งหมด

Copyright by netsurin.org