Thai | English
29 มีนาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
     
10  11  12  13  14  15  16 
17  18  19  20  21  22  23 
24  25  26  27  28  29  30 
31             
  ข่าวกิจกรรม
แนงมุดกับการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
"ไพศาล  ชินภักดี" หนึ่งในสมาชิกตลาดนัดสีเขียว ผู้มีบทบาทสำคัญในการร่วมจัดตั้งตลาดนัดมาตั้งแต่แรก ได้เล่าประสบการณ์ บทเรียนการทำงานปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระะดับชุมชน ให้กับผู้เข้าร่วมเวทีสัมมนา "ตั้งรับ ปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ในงานมหกรรมพลังงานภาคอีสาน เมื่อวันที่ 3-4 กันยายน 2558 ณ มูลนิธิพั้ฒนาอีสาน โดยมีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนจาก สปป.ลาว  กัมพูชาและไทย ว่า

"ตำบลแนงมุดเป็นพื้นที่ตะเข็บชายแดน ปลูกพืชเศรษฐกิจหลากหลาย เราเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำตาแนวเทือกเขาพนมดงรักและไหลลงมาห้วยชีว์ ห้วยเสนง และเราได้ทำงานโครงกาอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแดล้อม ปี
2552-2555 มีกิจกรรมการอนุรักษ์ ปลูกหญ้าแฝก ปลูกฝังจิตสำนึกของเยาวชน ก็มีกิจกรรรมอบรมเยาวชนต้นกล้าในป่าใหญ่ และอีกอย่างคือเรื่องเศรษฐกิจ ส่งเสริมเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ตอนนั้นคุยกันแบบไม่ต้องมีอะไรมากมาย ตำบลแนงมุดมี 3,000 กว่าครอบครัว คิดว่าเอาเงินมาครอบครัวละ 5 บาทได้มั้ย ซึ่งเราได้ทำตลาดนัดสีเขียวและเคยมีการเก็บสถิติตัวเลขการจำหน่ายได้ในปีหนึ่งประมาณ 700,000 กว่าบาท ปีที่แล้วเก็บได้ประมาณ 2,000,000 กว่าบาท

 ตลาดนัดสีเขียวพิเศษอย่างไร เราสามารถตั้งราคาขายเองได้ ไม่ต้องเดินทาง ลดการใช้พลังงาน ขายในตำบล ในหมู่บ้าน เราไม่ต้องส่งพ่อค้าคนกลางเพื่อจะไปเอารัดเอาเปรียบ เราจะทำผู้ผลิตพบผู้บริโภค และปัจจุบันก็ขยายผลใครสนใจก็รับสมาชิกมาโดยตลอด คนที่เข้าใจจะยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ถ้าเป็นชาวบ้านเราไปพูดเขาไม่รู้เรื่องหรอก

คนที่ใช้แผงโซล่าร์ปั๊มน้ำก็ดี เราจะเห็นพระอาทิตย์เมื่อก่อนตั้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันอาจารย์นันท์ทำให้สามารถปรับหมุนรับแสงแดดได้ทุกทิศทาง แล้วการปลูกพืชผักทุกวันนี้คือทุกคนต้องทำหลังคาให้พืชผักเพราะร้อนมาก

ส่วนการบริหารจัดการน้ำ คือ ทุกบ้านมีสระ มีบ่อ ทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลาเพราะมีกิจกรรมเกิดขึ้นมากมายในชุมชน เราต้องเสียสละเวลาตัวเองเพื่อส่วนรวม  ก็เลยเอาโซล่าร์มาใช้กับการเกษตรปั๊มขึ้นแท็งก์น้ำเก็บไว้ เป็นต้น"

ด้วยความมุ่งมั่นเพียรพยายามของสมาชิกตลาดนัดสีเขียว ทำให้ตลาดเป็นที่ยอมรับและสร้างรายได้ให้สมาชิกอย่างงดงาม และชัดในเป้าหมายแล้วว่านี่คือการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน สามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ด้วยการมีภัตตาหารที่อุดมสมบูรณ์  

 

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
ข่าวกิจกรรม
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน จัดงานเทศกาลถนนสายวัฒนธรรมผ้าไหมอาเซียน : ASEAN SILK FESTIVAL 2019 ครั้งที่1
- งานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน ร่วมประชุมรับฟังแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในปี 2562 จ.บึงกาฬ
- ทำเกษตรแล้วปรับตัวอย่างไร ในยุค THAILAND 4.0
- รับคณะศึกษาดูงานประเทศกัมพูชา
- สุภาพ เกื้อทาน ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง ต.ตะเคียน
- รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
- เสริมพลัง สร้างทักษะชีวิต
- ลดต้นทุนด้วยการทำนาหยอด
- โช โอกะ ผู้ประกอบการหัวใจสีเขียว
ดูทั้งหมด

Copyright by netsurin.org