Thai | English
24 เมษายน 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
 
10  11  12  13 
14  15  16  17  18  19  20 
21  22  23  24  25  26  27 
28  29  30         
             
  ข่าวกิจกรรม
​บ้านเกร็ดตระการ สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพผู้ประสบปัญหาทางสังคม
2 มิถุนายน 2558 มูลนิธิพัฒนาอีสานร่วมกับกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดสุรินทร์ มีโอกาสนำคณะแกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐหลายแห่งเข้าร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานต้านการค้ามนุษย์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจความตระหนักในปัญหากับบุคคล แกนนำที่เกี่ยวข้องกับงานต้านการค้ามนุษย์ในภาพรวมและสถานการณ์เฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ รวมทั้งพัฒนาทีมงาน สร้างเครือข่ายงานทั้งระดับบุคคล องค์กรเพื่อบูรณาการงานเชิงรุกในจังหวัดสุรินทร์ต่อไป โดยจุดแรกที่ไปคือ บ้านเกร็ดตระการ

บ้านเกร็ดตระการ หรือ สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ  เดิมชื่อสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2503 ในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2503 ต่อมากฎหมายได้รับการปรับปรุงใหม่เพื่อมุ่งให้ความคุ้มครองหญิงที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี เข้ารับการคุ้มครองโดยเน้นการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2539 เป็นต้นมา

ขณะเดียวกันบ้านเกร็ดตระการได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์สงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี ที่ประสบปัญหาทางสังคมทุกประเภท เช่น ถูกละเมิดทางเพศ มีความประพฤติไม่เหมาะสม ประสบปัญหาครอบครัวหรือปัญหาสังคมอื่นๆ

นอกจากนี้ยังได้ให้ความคุ้มครองต่อหญิงและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โดยคุ้มครองผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การถูกหลอกมาบังคับใช้แรงงาน ถูกบังคับหรือแสวงหาประโยชน์ในธุรกิจบริการทางเพศหรือเป็นขอทาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 

ปัจจุบันสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ สังกัดสำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำหน้าที่ให้บริการสังคมครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.หญิงที่อายุไม่เกิน 18 ปี ที่ต้องเข้ารับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 หรือหญิงที่มีอายุเกิน 18 ปีที่สมัครใจเข้ารับการคุ้มครอง 2.หญิงและเด็กทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์    และ 3.หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาทางสังคม

ในปี 2558 มีผู้ได้รับความเสียหายอยู่ในความดูแลเพื่อบำบัด ฟื้นฟู ฝึกอาชีพเพื่อรอกระบวนการยุติธรรม จำนวน 157 คน แบ่งเป็น คนไทย 53 คน ลาว 81 คน พม่า 15 คน กัมพูชา 7 คนและเอธิโอเปีย 1 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เปิดเผยรายงานการค้ามนุษย์ปี 2557 และไทยตกไปอยู่กลุ่มประเทศที่ 3 (Tier 3) ซึ่งหมายถึง “ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายด้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐฯ และไม่ได้ใช้ความพยายามอย่างมีนัยสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์” ซึ่งการตกไปอยู่ Tier 3 อาจทำให้ไทยสูญเสียโอกาสในด้านการส่งออกหรือความช่วยเหลือในด้านอื่นๆ แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับมนุษยธรรมที่มนุษย์พึงมีพึงปฏิบัติต่อกันในฐานะพลเมืองของโลก ดังนั้นประเทศไทยควรเร่งแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังเสียที 

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
ข่าวกิจกรรม
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน จัดงานเทศกาลถนนสายวัฒนธรรมผ้าไหมอาเซียน : ASEAN SILK FESTIVAL 2019 ครั้งที่1
- งานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน ร่วมประชุมรับฟังแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในปี 2562 จ.บึงกาฬ
- ทำเกษตรแล้วปรับตัวอย่างไร ในยุค THAILAND 4.0
- รับคณะศึกษาดูงานประเทศกัมพูชา
- สุภาพ เกื้อทาน ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง ต.ตะเคียน
- รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
- เสริมพลัง สร้างทักษะชีวิต
- ลดต้นทุนด้วยการทำนาหยอด
- โช โอกะ ผู้ประกอบการหัวใจสีเขียว
ดูทั้งหมด

Copyright by netsurin.org