Thai | English
5 ธันวาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
  ข่าวกิจกรรม
งานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 นางสาวชวกร ศรีโสภา ผู้จัดการมูลนิธิพัฒนาอีสาน เป็นตัวแทนเข้าร่วมการเปิดงานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการจากส่วนราชการในท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแนงมุด มาให้บริการตรวจ เช็ดหาสารเคมีตกค้างในเลือดให้กับผู้ที่เข้าร่วมงาน ตัวแทนจากโรงเรียนต่างๆ และมูลนิธิพัฒนาอีสานซึ่งเป็นองค์ร่วมจัดและร่วมก่อตั้งตลาดนัดสีเขียนมาตั้งแต่เริ่มต้น สำหรับประวัติความเป็นมาของ"ตลาดนัดสีเขียว" ต.แนงมุด เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลแนงมุด โดยผลผลิตที่นำมาจำหน่ายจะเป็นพืชผัก, ผลผลิตที่ผลิตเองภายในครัวเรือนหรือหาได้จากป่าแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยครอบครัวที่นำผลผลิตมาจำหน่ายจะเป็นครอบครัวต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกจาก โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดำเนินกิจกรรม

จำหน่ายผลผลิตที่มีคุณภาพ เช่น ผักปลอดสาร, ไก่บ้านอินทรีย์, ข้าวอินทรีย์, ผักธรรมชาติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกชุมชน กระบวนการผลิต ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบำรุงพืชผัก ใช้สารไล่แมลงแทนยาห่าแมลง, ใช้กระบวนการเกษตรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการเกื้อกูลกัน ผลผลิตได้แก่ ผักบุ้ง, โหรพา, นางลัก, ต้นหอม, ผักชี, ยี่หร่า, สาระแน่, หน่อไม้, หน่อไม้ฝรั่ง, ฟักทอง, แตงวา, ฯลฯ ประเภทสัตว์น้ำได้แก่ ปลานิล, ปลาดุก, ปลาตะเพียน, ปลาธรรมชาติต่างๆ และผลไม้ ได้แก่ ขนุน, แตงไทย, แตงโม, มะพร้าวน้าหอม, ลำไย, มะม่วง ในตลาดนัดสีเขียว นั้นได้หาช่องทางการตลาด จำหน่ายในพื้นที่ตลาดนัดสีเขียว ต.แนงมุด และนออกพื้นที่ ได้ระบบมาตรฐานความปลอดภัยของผลผลิตทางการเกษตร ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานใดแต่ใช้วิธีการรับรองกันเองภายในกลุ่มโดยการออกตรวจเยี่ยมแปลงที่ผลิต และกำลังดำเนินงานเพื่อขอรับรองมาตรฐาน จากหน่วยงานที่

เกี่ยวข้อง ระบบการผลิต และการจัดการกลุ่ม มีการบันทึกการผลิตตั้งแต่การเพาะปลูก, ปัญหาอุปสรรคในการผลิต แนวทางแก้ไขและมีการตรวจเยี่ยมแปลงและหาแนวทางเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของสินค้า ระบบการกระจายสินค้า ส่งเสริมให้มีการเพิ่มสมาชิกกลุ่มภายตำบลและให้มีสินค้าที่หลากหลาย เพิ่มจุดจำหน่ายสินค้าทั้งในและนอกพื้นที่ โดยใช้สื่อที่สามารถเข้าผู้บริโภคได้ ระบบเชื่อมโยงผู้บริโภค ใช้การประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น ในการประชุมหน่วยงานประจำเดือน, ทำแผ่นพับ, ป้ายประชาสัมพันธ์, ผ่านเว็บไซต์, แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์อื่นๆ ระบบสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ทำแผ่นพับ, ประชาสัมพันธ์ โดยใช้สื่อเช่น วิทยุชุมชน, เว็บไซต์, ประชุมร่วมกับหน่วยงานต่างๆทำป้ายโฆษณา 


  

  

  

  

  
ข่าวกิจกรรม
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน จัดงานเทศกาลถนนสายวัฒนธรรมผ้าไหมอาเซียน : ASEAN SILK FESTIVAL 2019 ครั้งที่1
- งานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน ร่วมประชุมรับฟังแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในปี 2562 จ.บึงกาฬ
- ทำเกษตรแล้วปรับตัวอย่างไร ในยุค THAILAND 4.0
- รับคณะศึกษาดูงานประเทศกัมพูชา
- สุภาพ เกื้อทาน ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง ต.ตะเคียน
- รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
- เสริมพลัง สร้างทักษะชีวิต
- ลดต้นทุนด้วยการทำนาหยอด
- โช โอกะ ผู้ประกอบการหัวใจสีเขียว
ดูทั้งหมด

Copyright by netsurin.org