|
21 พฤศจิกายน 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| | | | |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ข่าวกิจกรรม
|
|
รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
|
|
"รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต" ปาฐกกถาโดยนายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในงานประชุมวิชาการ "โฮมสุขอีสาน2" การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพ่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 21-22 มิถุนายน 2559 ณ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
"การเรียนรู้ไม่ได้อยู่แค่มหาลัยหรืออยู่ที่การศึกษาแต่อยู่ทุกที่ทุกเวลา การเรียนรู้ในชีวิตมีมากมาย เราเข้าใจว่าการเรียนรู้อยู่แค่มหาวิทยาลัย แล้วไปมองว่าใครเรียนสูงกว่าใคร สำคัญอยู่ที่ว่าเรามีความรู้มั้ย และนำไปใช้ประโยชน์กับสังคมและเพื่อนมนุษย์หรือไม่ เราใช้คำว่าโฮมสุขอีสาน เป็นคำดีมาก เน้นความสุขของคนอีสานที่พวกเราช่วยกันสร้าง เพราะไม่มีใครทำให้ใครได้
กระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ เป็นกระบวนการที่ชวนพี่น้องทั้งประเทศมาทำเรื่องสุขภาพ เพราะเป็นเรื่องของทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอพยาบาล การเคลื่อนนโยบายเรื่องสุขภาพก็เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน แล้วท่านก็มีบทบาทอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดสุขภาพดี
นโยบายสาธารณะที่เราทำดีมาก ผมไปประชุมที่สหรัฐฯ เขาประชุมกันมาแล้ว 133 ครั้ง นั่นคือเขาเอาความรู้มาแลกเปลี่ยนกันเป็น 100 ปีแล้ว เขามีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดีมาก แต่เป็นจุดอ่อนของไทยที่วัฒนธรรมการเรียนรู้น้อยไปหน่อย
ผมคิดว่าเราควรทำกันทุกจังหวัด อาจจะใช้วิธีการลงขันกัน กินด้วยกัน ตัวอย่างที่นาบัว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ที่นั่นเขาจัดประชุมวิชาการชาวบ้านมานานแล้ว จัดทุกปี ทุกหมู่บ้านหมุนเวียนกันไป ฟังแล้วประทับใจมาก เรากำลังทำวิชาการในระดับปัญญา เรากำลังเรียนเรื่องชีวิต ใช้ความรู้และปัญญา ระบบการศึกษาก็มีให้อยู่ แต่ความรู้และภูมิปัญญามันเปลี่ยนตลอดเวลาเพราะเกิดจากการปฏิบัติจริง ความจริง ความรู้มีอยู่ทุกที่ ทุกคนมีเกียรติทั้งนั้น ไม่ใช่เฉพาะคนที่มีการศึกษาสูง เพราะทุกคนมีความรู้ มีการแลกเปลี่ยนและต้องยกระดับความรู้นั้นด้วย
คำว่า “รอยเกวียน” ต้องมีการเดินทางโดยเกวียน เส้นทางที่เราเดินเรื่องสุขภาพ สุขภาพคนไทยไม่ได้อยู่ที่หมอพยาบาลหรือ สช. แต่อยู่ที่พวกเราทุกคน “การเรียนรู้” เราอยู่ที่โรงเรียนกี่ชั่วโมง เราอยู่นอกโรงเรียนเยอะมาก ระบบการเรียนการสอนแพทย์ดีมากมีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ไม่ได้สอนเฉพาะตำราอย่างเดียว คนไข้คือคนที่ทำให้หมอเรียนสำเร็จ ทำให้หมอเกิดการเรียนรู้ มีการปฏิบัติ เรียนรู้และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การเรียนรู้ในสังคมไทยต้องเปิดให้มากขึ้น สังคมอำนาจจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้น้อย เพราะถูกกำหนดมาจากด้านบนแล้ว
ขีดความสามารถสำหรับอนาคต โลกเปลี่ยนเร็วมาก ดังนั้นเราต้องมี 1.ปัญญา + ความจริง 2.เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ต้องรู้เท่าทันทั้งด้านบวกและลบ 3.ภาษาสากล ภาษาอีสานเราต้องดำรงไว้ ส่วนภาษาอื่นต้องเรียนรู้ให้มากขึ้น คนเวียดนามมาเรียนภาษาบ้านเราพูดได้เป็นหมื่นๆคน แล้วคนไทยล่ะเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านเรามากน้อยเพียงใด 4.การจัดการ ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญมาก อนาคตงานจะยากขึ้น ต้องมีการจัดการที่เป็นระบบ เชื่อมโยงคนสานงาน ไม่มีใครทำอะไรสำเร็จด้วยตัวคนเดียว 5.เรียนรู้ปรับตัวตามบริบท และ 6.วิชาชีพเฉพาะ มีเทคนิคและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน"
|
|
|
|