Thai | English
5 ธันวาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
10  11  12  13  14 
15  16  17  18  19  20  21 
22  23  24  25  26  27  28 
29  30  31         
             
  ข่าวกิจกรรม
รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
"รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต" ปาฐกกถาโดยนายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในงานประชุมวิชาการ "โฮมสุขอีสาน2" การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพ่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ 21-22 มิถุนายน 2559 ณ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

"การเรียนรู้ไม่ได้อยู่แค่มหาลัยหรืออยู่ที่การศึกษาแต่อยู่ทุกที่ทุกเวลา การเรียนรู้ในชีวิตมีมากมาย เราเข้าใจว่าการเรียนรู้อยู่แค่มหาวิทยาลัย แล้วไปมองว่าใครเรียนสูงกว่าใคร สำคัญอยู่ที่ว่าเรามีความรู้มั้ย และนำไปใช้ประโยชน์กับสังคมและเพื่อนมนุษย์หรือไม่ เราใช้คำว่าโฮมสุขอีสาน เป็นคำดีมาก เน้นความสุขของคนอีสานที่พวกเราช่วยกันสร้าง เพราะไม่มีใครทำให้ใครได้

กระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพ เป็นกระบวนการที่ชวนพี่น้องทั้งประเทศมาทำเรื่องสุขภาพ เพราะเป็นเรื่องของทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นหมอพยาบาล การเคลื่อนนโยบายเรื่องสุขภาพก็เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน แล้วท่านก็มีบทบาทอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดสุขภาพดี

นโยบายสาธารณะที่เราทำดีมาก ผมไปประชุมที่สหรัฐฯ เขาประชุมกันมาแล้ว 133 ครั้ง นั่นคือเขาเอาความรู้มาแลกเปลี่ยนกันเป็น 100 ปีแล้ว เขามีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดีมาก  แต่เป็นจุดอ่อนของไทยที่วัฒนธรรมการเรียนรู้น้อยไปหน่อย

ผมคิดว่าเราควรทำกันทุกจังหวัด อาจจะใช้วิธีการลงขันกัน กินด้วยกัน ตัวอย่างที่นาบัว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ที่นั่นเขาจัดประชุมวิชาการชาวบ้านมานานแล้ว จัดทุกปี ทุกหมู่บ้านหมุนเวียนกันไป ฟังแล้วประทับใจมาก เรากำลังทำวิชาการในระดับปัญญา เรากำลังเรียนเรื่องชีวิต ใช้ความรู้และปัญญา ระบบการศึกษาก็มีให้อยู่ แต่ความรู้และภูมิปัญญามันเปลี่ยนตลอดเวลาเพราะเกิดจากการปฏิบัติจริง  ความจริง ความรู้มีอยู่ทุกที่ ทุกคนมีเกียรติทั้งนั้น ไม่ใช่เฉพาะคนที่มีการศึกษาสูง เพราะทุกคนมีความรู้ มีการแลกเปลี่ยนและต้องยกระดับความรู้นั้นด้วย

คำว่า “รอยเกวียน” ต้องมีการเดินทางโดยเกวียน เส้นทางที่เราเดินเรื่องสุขภาพ สุขภาพคนไทยไม่ได้อยู่ที่หมอพยาบาลหรือ สช. แต่อยู่ที่พวกเราทุกคน  “การเรียนรู้” เราอยู่ที่โรงเรียนกี่ชั่วโมง เราอยู่นอกโรงเรียนเยอะมาก ระบบการเรียนการสอนแพทย์ดีมากมีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ไม่ได้สอนเฉพาะตำราอย่างเดียว คนไข้คือคนที่ทำให้หมอเรียนสำเร็จ ทำให้หมอเกิดการเรียนรู้  มีการปฏิบัติ เรียนรู้และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ  การเรียนรู้ในสังคมไทยต้องเปิดให้มากขึ้น สังคมอำนาจจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้น้อย เพราะถูกกำหนดมาจากด้านบนแล้ว

ขีดความสามารถสำหรับอนาคต  โลกเปลี่ยนเร็วมาก  ดังนั้นเราต้องมี 1.ปัญญา + ความจริง  2.เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ต้องรู้เท่าทันทั้งด้านบวกและลบ 3.ภาษาสากล  ภาษาอีสานเราต้องดำรงไว้ ส่วนภาษาอื่นต้องเรียนรู้ให้มากขึ้น คนเวียดนามมาเรียนภาษาบ้านเราพูดได้เป็นหมื่นๆคน แล้วคนไทยล่ะเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้านเรามากน้อยเพียงใด  4.การจัดการ ซึ่งเป็นหัวใจที่สำคัญมาก อนาคตงานจะยากขึ้น ต้องมีการจัดการที่เป็นระบบ เชื่อมโยงคนสานงาน  ไม่มีใครทำอะไรสำเร็จด้วยตัวคนเดียว  5.เรียนรู้ปรับตัวตามบริบท และ 6.วิชาชีพเฉพาะ มีเทคนิคและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน"

 

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
ข่าวกิจกรรม
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน จัดงานเทศกาลถนนสายวัฒนธรรมผ้าไหมอาเซียน : ASEAN SILK FESTIVAL 2019 ครั้งที่1
- งานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน ร่วมประชุมรับฟังแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในปี 2562 จ.บึงกาฬ
- ทำเกษตรแล้วปรับตัวอย่างไร ในยุค THAILAND 4.0
- รับคณะศึกษาดูงานประเทศกัมพูชา
- สุภาพ เกื้อทาน ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง ต.ตะเคียน
- รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
- เสริมพลัง สร้างทักษะชีวิต
- ลดต้นทุนด้วยการทำนาหยอด
- โช โอกะ ผู้ประกอบการหัวใจสีเขียว
ดูทั้งหมด

Copyright by netsurin.org