Thai | English
2 พฤษภาคม 2567
อา จ. อ. พ. พฤ ศ. ส.
   
10  11 
12  13  14  15  16  17  18 
19  20  21  22  23  24  25 
26  27  28  29  30  31   
             
  ข่าวกิจกรรม
GIDCC กับการทำงานเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน สปป.ลาว
เวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนบทเรียน ประสบการณ์ทำงานเรื่องการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศลาว กัมพูชาและไทย ในงานมหกรรมพลังงานภาคอีสานครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558  ณ มูลนิธิพัฒนาอีสานนั้น หลายประเทศได้นำเสนอบ

อาจารย์บุญปัน แสนทวีสุข นักวิชาการที่ทำงานด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากโครงการ GIDCC ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากโกลบอล ดำเนินงานภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว  กล่าวโดยภาพรวมว่า 

ในสปป.ลาวมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงอยู่หลายกรณี และเรื่องอนาคตบางครั้งอาจจะใช้การคาดเดา ซึ่งอาจจะเป็นไปได้หรือไม่ได้ เดี๋ยวนี้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น ในปี 1951-1980 ไม่มีปัญหาอะไร 2001-2005 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในลาว ภาคเหนือที่ไซยะบุรีหรือเวียงจันทน์ มีสภาพอากาศต่างกัน ภาคเหนือมีปริมาณน้ำฝนเล็กน้อย แต่ภาคกลางน้ำเยอะ แต่ปีนี้ภาคใต้ฝนมาช้า  ภาคกลางมีเขื่อนเยอะปล่อยน้ำมาตามเขื่อนไฟฟ้า บางปีน้ำมากบางปีก็แล้ง

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือน 600 มิลลิเมตร ที่ผ่านมามีประมาณ 1,800 มิลลิเมตร ผลกระทบเรื่องภัยธรรมชาติ ปี 1966 น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว  ในส่วนข้อมูลรัฐบาลยังไม่มีข้อมูลชัดเจน เพราะยังไม่มีเครื่องมือตรวจสอบที่ชัดเจน เราใช้วิธีคาดคะเน  ส่วนผลกระทบต่อภาคเกษตร ดินที่อุดมสมบูรณ์อาจหายไป เพาะบางพื้นที่มีบริษัทลงทุนมาเช่าปลูกยาง พืชน้ำมัน ผลผลิตการเกษตรเริ่มมีน้อยลง คล้ายกัมพูชาคือพืชเริ่มสูญพันธุ์ มีปัญหาไข้เลือดออก เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลกระทบต่อชาวนา คือ ผลผลิตออกน้อยเพราะปัญหาภัยแล้ง  น้ำน้อยมีผลกระทบต่อการเกษตรหรือบางที่ท่วมเป็นเดือนสองเดือนก็มี รวมถึงน้ำอุปโภคบริโภค  แต่ส่วนใหญ่ผลกระทบจะมีในเรื่องการปลูกข้าวเป็นหลัก เพราะว่าน้ำน้อยมากปลูกไม่ได้ผล ไม่มีระบบชลประทาน  ไม่ได้รับประกันช่วยเหลืออะไร และในปีที่ผ่านมาอากาศหนาวผิดปกติ ส่งผลต่อการปลูกข้าวเพราะข้าวต้องการแสงแดด 
    
เรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ สปป.ลาวยังมีน้อยอยู่ น้ำมาก น้ำน้อยจะรับมืออย่างไร? พืชไหนที่เหมาะกับช่วงแล้ง น้ำท่วม จะปลูกอะไรได้บ้าง ยังปรับตัวไม่ได้เท่าที่ควร สำหรับระยะยาว รัฐบาลเห็นว่าการใช้พลังงานทดแทน พัฒนาเศรษฐกิจส่งออกและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้สามารถทนทานต่อภัยพิบัติได้  และการปลูกพืชว่าพืชไหนที่ให้สัมปทานปลูกได้ไม่ได้ การฟื้นฟูป่าไม้ป่าไม้ควบคุมจากเดิม 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้เหลือเพียง 45 เปอร์เซ็นต์  ตอนนี้ลาวมีเขื่อนเยอะด้วยหวังจะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย ถ้าภายใน 10 ปีนี้ไม่มีน้ำผลิตไฟฟ้า ก็จะกลายเป็นอนุสาวรีย์ได้ 

ลาวได้รับทุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งได้เฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา 4-5 ปีที่ผ่านมาเราทำงานเฉพาะในพื้นที่ที่ทำโครงการเท่านั้น  ประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบางคนก็ยังสับสนอยู่มากและถ้าเป็นพื้นที่นอกโครงการประชาชนจะไม่ทราบเลยว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคืออะไร แม้กระทั่งพนักงานราชการก็ตาม หลายปีต่อมาเราได้ทดลองกิจกรรม มีแผนการทำงาน บางอันก็ได้ผล บางอันก็ไม่ได้ผล 

ปัญหาและข้อจำกัด คือ แหล่งทุนมีน้อย อาศัยจากแหล่งทุนสากลเท่านั้น หลักสูตรที่เรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในมหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เรียนรู้ไปด้วยพัฒนาหลักสูตรไปด้วย  ส่วนการทำหลักสูตรเป็นภาษาลาวยังไม่มี ต้องไปเรียนที่มหาลัยต่างประเทศเท่านั้น

ภาพ : Sanim

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]

[ +zoom ]
ข่าวกิจกรรม
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน จัดงานเทศกาลถนนสายวัฒนธรรมผ้าไหมอาเซียน : ASEAN SILK FESTIVAL 2019 ครั้งที่1
- งานครบรอบ 9 ปี ตลาดนัดสีเขียว ณ ต.แนงมุด อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
- มูลนิธิพัฒนาอีสาน ร่วมประชุมรับฟังแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวในปี 2562 จ.บึงกาฬ
- ทำเกษตรแล้วปรับตัวอย่างไร ในยุค THAILAND 4.0
- รับคณะศึกษาดูงานประเทศกัมพูชา
- สุภาพ เกื้อทาน ปราชญ์ชาวบ้านแห่ง ต.ตะเคียน
- รอยเกวียน เรียนรู้ สู่อนาคต
- เสริมพลัง สร้างทักษะชีวิต
- ลดต้นทุนด้วยการทำนาหยอด
- โช โอกะ ผู้ประกอบการหัวใจสีเขียว
ดูทั้งหมด

Copyright by netsurin.org